Singharat Kanjanasopon
2 min readJun 15, 2019

ฺฺBasic Switch // Mac address // Arp // Gateway เส้นทางการเชื่อมต่อกัน

Protocol

Layer 2 : Ethernet(Mac Address)

Layer 3 : IP (IP Address (จะสามารถทำ Routing ได้))

Switch

Layer 2 : มีทั้ง Un-Managed และ Managed

Layer 3 : มีแต่ Managed

Switch Layer 2

Un-Managed Switch คือ Switch ที่ไม่สามารถเข้าไป Config ได้

  • Mac Address Table

Manage Switch คือ Switch ที่สามารถเข้าไป Config ได้ และมี Feature ต่างให้จัดการได้เช่น

  • Mac Address Table
  • ฺVLAN
  • Spanning-Tree
  • Etc.

Switch Layer 3 จะมีแค่ Manage Switch สามารถเข้าไป Config ได้ และมี Feature ต่างๆให้จัดการได้เช่น (มีความสามารถทำงานเหมือนฟังก์ชันของ Router ได้)

  • IP Address
  • Routing Table
  • ARP
  • Mac Address Table
  • ฺVLAN
  • Spanning-Tree
  • Etc.

Protocol ARP จะมีอยู่บน Computer,Router และ Switch Layer 3

ARP : เครื่องที่ต้องการติดต่อก็จะส่ง ARP Request แบบ Broadcast ออกไปในเครือข่าย เพื่อสอบถามว่าเครื่องที่มี IP ดังกล่าวมี MAC Address เป็นอะไร พอเครื่องที่มี IP ตรงกับที่ระบุได้รับ ARP Request ก็จะส่ง ARP Reply (หรือ ARP Response) ตอบ MAC Address ของตัวเองกลับไป

ในรูปคือ Layer 2 จะไม่รู้ Mac address ของปลายทาง เลยต้องทำการฟลัก (Arp Request )ไปหาทุก PortของSwitch(โดยใช้Mac address : FF.FF.FF.FF ) (มันเลยทำให้เกิดปัญหา Broadcast) พอไปเจอเครื่องปลายทางแล้วเครื่องปลายก็จะต้อง ARP Reply กลับไปหา Mac ต้นทางว่าฉันอยู่นี้นะ หลังจากนั่นก็จะเริ่มส่งข้อมูลเพราะเรารู้ Mac Address ทั้งต้นทางและปลายทางเรียบร้อยแล้ว

ถ้าข้ามเราเตอร์ คือมันจะเช็คก่อนว่ามันอยู่ในวงเดียวกันไหมเช่นดังรูปต้องเช็คก่อนว่าอยู่วง 10.1.1.X ไหม ถ้าไม่มี ก็จะไปวิ่งไปใช้ Mac Address ของ Gateway แทน พอวิ่งไปถึง Router ก็จะใช้แค่ IP ในการเช็คว่ามี IP ปลายทางที่ต้องการไปไหม แล้วทำการ Forword ไปต่อ

เครดิต : https://www.youtube.com/watch?v=AtduZtr-3Xg

Singharat Kanjanasopon
Singharat Kanjanasopon

Written by Singharat Kanjanasopon

Certificate: Cisco: CCNA // CompTIA: Security+, Pentest+ // Microtik: MTCNA, MTCTCE, MTCSE, MTCRE //

No responses yet