Singharat Kanjanasopon
3 min readJun 27, 2019

MIMO หรือชื่อเต็มเรียกว่า multiple-input and multiple-output
เทคโนโลยี MIMO คือ เทคโนโลยีที่นำเอาเสาส่งสัญญาณพร้อมกันหลายคลื่นและเครื่องรับสามารถรับพร้อมกันหลายเครื่อง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น โดยในทั้งตลาดจะเห็น Router ที่เป็น MIMO ที่เห็น 2x2 และ 4x4

  • Single User Mimo : คือในช่วงเวลาหนึ่งเราท์เตอร์จะสมารถรับ — ส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ได้เเค่ 1 ตัวเท่านั้น เมื่อเชื่อมต่อหลาย ๆ อุปกรณ์ จะทำให้เราท์เตอร์ส่งสัญญาณสลับกันไปมาอย่างรวดเร็วทำให้เกิด การเน็ตสะดุด
  • Multi User Mimo : คือข้อข้อจำกัดของเทคโนโลยีเดิม คือ Router สามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลได้หลาย ๆ อุปกรณ์พร้อมกัน และนอกจากนี้ยังทำให้ Router สามารถส่งข้อมมูลได้เร็วขึ้น และรองรับอุปกรณ์ได้มากกว่าเดิม

ข้อจำกัด ของ Multi User Mimo ก็อยู่ที่ตัว Router นั้นจะต้องรองรับมาตรฐานนี้เเล้ว อุปกรณ์ที่ใช้งานก็ต้องรองรับมาตรฐานนี้ด้วย

OFDM : เวลาส่งข้อมูลในช่วงเวลามันจะส่งไปหา user ทีละคน คนต่อไปต้องรอให้ user ที่ 1 เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงจะไปส่งให้ user คนที่ 2 ได้

OFDMA (802.11ax) WiFi 6 : ใน 1 ช่วงเวลาสามารถส่งข้อมูลได้ที่ละหลาย user

Multi User Mimo VS OFDMA ต่างกันอย่างไร ?

  • OFDNA
    OFDNA : เพิ่มประสิทธิภาพ
    OFDMA : ลด latency
    OFDMA : ใช้สำหรับ low-bandwidth applications
  • Mu-Mimo
    Mu-Mimo : ใช้สำหรับ high-bandwidth applications
    Mu-Mimo : ใช้สำหรับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

สรุป : MU-MIMO ใช้ Steam เพื่อแบ่ง User แต่ละคนออกจากกัน OFDMA ใช้ Steam เดียว แบ่งกันใช้ หลายๆ คน

7 Way to fails as a Wireless expert

  1. Fail Incorrect usage of chananels : คุณตั้งค่า Chananels ผิด เช่นความถี่ 2.4 สมควรที่จะตั้งเป็น 1/6/11 ไม่สมควรตั้งให้มัน overlab กันเหมือนในรูป

ยกตัวอย่างเช่น เปรียบง่ายๆคือที่จอดรถสามารถจอดได้สองคันแต่คุณดันไปจอดคร่อมเลน แทนที่จะจอดได้ 2 คนแต่ดันไปจอดคันเดียว เหมือนกับว่าคุณไปกวนเลนของคนอื่นทำให้คนอื่นจอดไม่ได้

2. Putting you AP’s on Maximum power : การที่เราส่งกำลังของ AP ให้มันส่งไปได้ไกลๆมันไม่ใช้ข้อดี แต่ควรตั้งให้เหมาะสมไม่ไกลเกินไป

  • AP ตาม กสทช ให้ส่งคือ 20 dBM=100 mw
  • AP ปล่อยสัญญาณออกไปไกลมากๆ แต่ Client ตอบกลับไปหา AP ไม่ถึง ก็ไม่สามารถคุยกันได้ (Nootbook ไม่ค่อยมีปัญหา แต่มีปัญหากับโทรศัพท์)
  • การปล่อย Maximum Power ก็ทำให้ไปกวนสัญญาณคนอื่นๆได้
  • ดังนั่น การปล่อย Maximun Power ปล่อยไกลๆไม่ใช่ข้อดีเสมอไป

3. Signal 2.4 GHz is still the most important
เราไม่สมควรให้ความสำคัญสัญญาณ 2.4 GHz ควรไปใช้ 5.0 GHz. เพราะ 2.4 GHz ความเร็วจะได้แค่ 802.11n เท่านั่น และ 5.0 GHz มี Channel ให้ใช้มากกว่า
** แต่จะมีปัญญาบาง Device ไม่รองรับ 5.0 GHz เราสมควรตั้ง SSID wifi เป็น 2 สัญญาณทั้ง 2.4 Ghz กับ 5.0 Ghz (ไม่ควร 2.4 กับ 5.0 เปิดรวมกัน ไม่ควรตั้งชื่อเดียวกัน)

4. Placement : ลักษณะและสถานที่การติดตั้ง AP

ลักษณะที่ไม่ควรติดตั้ง

  • ไม่ควรเอาเหล็กครอบ ไว้เพื่อกันขโมย เพราะสัญญาณปล่อยออกสนเหล็กจะดูดสัญญาณหายหมดเลย
  • ไม่ควรติด AP ซ้อนกัน สองตัว
  • ไม่ควรตั้งไว้ในตู้ rack
  • ไม่ควรตั้งไว้ข้างๆ Microware
  • การชี้ทิศทางของเสาไม่ถูก จากในรูปหันเชียง แล้วใต้สัญญาณก็จะไม่ได้สัญญาณ เพราะสัญญาณจะออกมาเป็นโดม ควรตั้งให้มันลงตรงๆ แต่สมควรไปดูก่อนว่าสัญญาณแต่ละเสาออกมาแบบไหน
  • อุปกรณ์รุ่นที่มีให้ใส่เสาข้างนอกแต่ไม่ใส่เสาเป็นวิธีที่ผิด การที่เราติดโดยไม่ใส่เสาอาจจะถึงขั้นทำให้อุปกรณ์พังได้ (อุปกรณ์ของ cisco จะเตือนข้างๆกล่องเลย)

5. Underestimating Security : การตั้งรหัสผ่านเพื่อความ Security และควรเลือกโหมดในการตั้งให้เหมาะสม เช่น

  • WPA2 Prosonal : เหมาะสมที่จะใช้ตามบ้าน
  • WPA2 Enterprise (802.1x): เหมาะสมสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่เพราะจะใช้ควบคู่กับRADIUSหรือเซิร์ฟเวอร์ในการตรวจสอบความถูกต้อง

6. Hype versus reality : ความจริงกับสมมุติฐานมันต่างกันในการทำ Wireless

เช่น โหลดไฟล์จะในความคิดคือจะได้ความเร็วเต็มสปิด 600 Mbps แต่ความจริงแล้วมันไม่ถึง ถ้าเชื่อมผ่าน WiFi ให้ประมาณเอาความเร็วหารสองได้เลยนี้คือเฉพาะเครื่องเราเครื่องเดียว แต่ความจริงมันมีอีกหลายเครื่องก็ทำให้ความเร็วของเรา Drop ลงไปอีก

7. No(proper Site Survey) : การทำ Site Survey เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการหาจุดติดตั้งของ wireless

Question

  • จะต้องใช้ AP กี่ตัวติดที่ไหน ใช้ Power เท่าไร Channals อะไร
  • ในความเป็นจริงสัญญาณเป็นยังไงบ้าง
  • Network ใช้งานได้จริงหรือไม่

Survet Phase

  • ต้องทำการ Network Plan
  • เข้าไปดูหน้างานจริงๆว่าติดได้จริงไหม
  • หลังการติดตั้งต้องตรวจเช็คว่าสัญญาณโอเคไหม
  • * การติดAPกันใกล้กันเกินไปก็มีผลเสียคือทำให้สัญญาณไม่ roming กันเพราะอยู่กันใกล้กันเกินไปมันจะไม่สามารถสวิตซ์กันได้ แต่ถ้าจะตั้งติดกันได้ต้องเป็น 5.0 Ghz เพราะมันมีหลาย chennal เช่น ในห้องประชุมแล้วเปิดฟิวเจอร์ที่มีชื่อว่า Client Loadbalance ถ้า AP มีคนเชื่อมเยอะๆมันก็จะดีดไปเชื่อมอีกตัวให้

เครดิต .. https://www.facebook.com/NetPrimeTraining/videos/2025177514457240/

Singharat Kanjanasopon
Singharat Kanjanasopon

Written by Singharat Kanjanasopon

Certificate: Cisco: CCNA // CompTIA: Security+, Pentest+ // Microtik: MTCNA, MTCTCE, MTCSE, MTCRE //

No responses yet